วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงการหญ้าแฟก



“....ให้ใช้หญ้าแฝกในการพัฒนา ปรับปรุงบำรุงดิน ฟื้นฟูดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ และแก้ปัญหาดินเสื่อมโทรม...”
พระราชดำริ

    เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงครองราชย์ 60 ปี ในปีพุทธศักราช 2549 และจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2550 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติ ระหว่าง ปี 2548-2550 เพื่อการรณรงค์ส่งเสริมและขยายผลให้ประชาชนปลูกหญ้าแฝก ในพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ และนำหญ้าแฝกไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม กว้างขวางและต่อเนื่อง โดยการรวมใจของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ เข้าร่วมโครงการปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติ ภายใต้การสนับสนุนของ 11 หน่วยงาน ที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2548 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์) เป็นประธานในพิธี กรอบแห่งความร่วมมือในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ คือ ทั้ง 11 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานคร กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ได้ตกลงให้มีความร่วมมือกันปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี ในปีพุทธศักราช 2549 เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2550 มีระยะเวลาดำเนินงานโครงการระหว่างปี 2548-2550 โดยเริ่มดำเนินการดีเดย์ตั้งแต่วันพืชมงคล คือวันที่ 11 พฤษภาคม 2548 ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2550 โดยมี เป้าหมายที่จะปลูกหญ้าแฝก จำนวนไม่ต่ำกว่า 300 ล้านกล้า และจนเกิดผลสำเร็จในการใช้หญ้าแฝกปรับปรุงและรักษาหน้าดินจำนวนไม่ต่ำกว่า 800,000 จุด ทั่วประเทศ โดยกรมพัฒนาที่ดินสนับสนุนกล้าพันธุ์หญ้าแฝก และถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกหญ้าแฝก ในพื้นที่ลาดชันรอบแหล่งน้ำ บ่อน้ำ สองข้างทางลำเลียง และถนน รวมทั้งพื้นที่เกษตรกรรม โดยมีการบำรุงดูแลรักษาหญ้าแฝกที่ปลูกอย่างต่อเนื่อง มีการติดตามและปลูกซ่อมแซมให้ครบถ้วน ซึ่งบันทึกข้อตกลงได้มีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลงนามในบันทึกข้อตกลง คือ วันที่ 9 พฤษภาคม 2548 จนถึง วันที่ 5 ธันวาคม 2550



ลักษณะของหญ้าแฝก

หญ้าแฝก เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปหลายพื้นที่ตามธรรมชาติ จากการสำรวจพบว่า มีกระจายอยู่ทั่วโลกประมาณ 12 ชนิด และสำรวจพบในประเทศไทย 2 ชนิด ได้แก่
1. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกลุ่ม ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี กำแพงเพชร 2 ศรีลังกา สงขลา 3 และพระราชทาน ฯลฯ
2. กลุ่มพันธุ์หญ้าแฝกดอน ได้แก่ พันธุ์ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร 1 นครสวรรค์ และเลย เป็นต้น
หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่ขึ้นเป็นกอ หน่อเบียดกันแน่น ใบของหญ้าแฝกมีลักษณะ แคบยาว ขอบขนานปลายสอบแหลม ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ มีรากเป็นระบบรากฝอยที่สานกันแน่นยาว หยั่งลึกในดิน มีช่อดอกตั้ง ประกอบด้วยดอกขนาดเล็กดอกจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นหมัน

ลักษณะพิเศษของหญ้าแฝก
การที่หญ้าแฝกถูกนำมาใช้ปลูกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เนื่องมาจากมีลักษณะเด่นหลายประการ ดังนี้
1. มีการแตกหน่อรวมเป็นกอ เบียดกันแน่น ไม่แผ่ขยายด้านข้าง
2. มีการแตกหน่อและใบใหม่ ไม่ต้องดูแลมาก
3. หญ้าแฝกมีข้อที่ลำต้นถี่ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อได้ตลอดปี
4. ส่วนใหญ่ไม่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ทำให้ควบคุมการแพร่ขยายได้
5. มีใบยาว ตัดและแตกใหม่ง่าย แข็งแรงและทนต่อการย่อยสลาย
6. ระบบรากยาว สานกันแน่น และช่วยอุ้มน้ำ
7. บริเวณรากเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์
8. ปรับตัวกับสภาพต่าง ๆ ได้ดี ทนทานต่อโรคพืชทั่วไป
9. ส่วนที่เจริญต่ำกว่าผิวดิน ช่วยให้อยู่รอดได้ดีในสภาพต่าง ๆ



การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่การเกษตร
สำหรับการปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่เกษตรกรรมมีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรดินและการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งประกอบด้วย
1. การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ลาดชัน ควรปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน โดยการทำแนวร่องปลูกตามแนวระดับ ใช้ระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือยและระยะ 10 เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ระยะห่างแถวตามแนวดิ่งไม่เกิน 2 เมตร หญ้าแฝกจะเจริญเติบโตแตกกอชิดกันภายใน 4-6 เดือน
2. การปลูกเพื่อควบคุมร่องน้ำและกระจายน้ำ นำกล้าหญ้าแฝกในถุงพลาสติกที่มีการแตกกอและแข็งแรงดีแล้วไปปลูกในร่องน้ำ โดยขุดหลุมปลูกขวางร่องน้ำ เป็นแนวตรง หรือแนวหัวลูกศรชี้ย้อนไปทิศทางน้ำไหลอาจใช้กระสอบทรายหรือก้อนหิน ช่วยทำคันเสริมฐานให้มั่นคงตามแนวปลูกหญ้าแฝก ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ 10 เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง และระหว่างแนวปลูกหญ้าแฝกไม่เกิน 2 เมตร ตามแนวตั้งหลังจากเกิดคันดินกั้นน้ำควรปลูกหญ้าแฝกต่อจากแนวคันดินกั้นน้ำออกไปทั้งสองข้าง เพื่อเป็นการกระจายน้ำเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก
3. การปลูกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นในสวนผลไม้ ควรปลูกหญ้าแฝกในสวนผลไม้ระยะที่ไม้ผลยังไม่โต หรือปลูกก่อนที่จะลง ไม้ผล โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผลที่ระยะกึ่งกลางของแถวไม้ผล หรือปลูกเป็นรูปครึ่งวงกลมให้ห่างจากโคนต้นไม้ผล 2.5 เมตร เพื่อไม้ผลเจริญเติบโตขึ้นมาคลุมพื้นที่ หญ้าแฝกจะตายไปกลายเป็นอินทรียวัตถุในดินต่อไป
4. การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่ การปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับในพื้นที่ดอนที่ปลูกพืชไร่ โดยการขุดร่องปลูกตามแนวระดับ ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ 10 เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง ควรใช้ปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูกหญ้าแฝก หรือปลูก หญ้าแฝกเป็นแนวระหว่างแถวปลูกพืชไร่ และควรปลูกในสภาพดินที่มีความชุ่มชื้นในช่วงต้นฤดูฝน
5. การปลูกหญ้าแฝกในพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่ม ในสภาพพื้นที่ราบหรือพื้นที่ลุ่มที่มีการปรับสภาพเป็นแปลงยกร่องเพื่อปลูกพืชนั้น สามารถปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวรอบขอบเขตพื้นที่ หรือปลูกที่ขอบแปลงยกร่องหญ้าแฝกจะช่วยยึดดินไม่ให้พังทลาย และรักษาความชื้นในดินเอาไว้
6. การปลูกรอบขอบสระเพื่อกรองตะกอนดิน ควรปลูกตามแนวที่ระดับน้ำสูงสุดท่วมถึง 1 แนว และปลูกเพิ่มขึ้นอีก 1-2 แนวเหนือแนวแรก ซึ่งขึ้นอยู่กับความลึกของขอบสระ ระยะห่างระหว่างต้น 5 เซนติเมตร สำหรับกล้ารากเปลือย และ 10 เซนติเมตร สำหรับกล้าถุง โดยขุดหลุมปลูกต่อเนื่องกันไป ในระยะแรกควรดูแลปลูกซ่อมแซมให้แถวหญ้าแฝกเจริญเติบโตหนาแน่นเมื่อน้ำไหลบ่ามาลงสระตะกอนดินที่ถูกพัดพามากับน้ำ จะติดค้างอยู่กับแถวหญ้าแฝก ส่วนน้ำจะค่อย ๆ ไหลผ่านลงสู่สระและระบบรากของหญ้าแฝกยังช่วยยึดติดดินรอบ ๆ ขอบสระไม่ให้เกิดการ พังทลาย

รูปแบบการปลูกหญ้าแฝก
เพื่อให้การดำเนินการปลูกหญ้าแฝกตามโครงการนี้มีรูปแบบที่ชัดเจน จึงได้มีการกำหนดรูปแบบการปลูกที่สามารถนำไปปฏิบัติในพื้นที่ได้ ซึ่งประกอบด้วย

1. การปลูกในระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ การปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวเดี่ยวขวางความลาดชันของพื้นที่ถ้าใช้กล้าแบบรากเปลือยจะปลูกระยะระหว่างต้น 5 เซนติเมตร ถ้าเป็นกล้าถุงพลาสติก ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 10 เซนติเมตร โดยปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวตามแนวระดับ ให้มีระยะห่างระหว่างแถวตาม แนวดิ่งไม่เกิน 2 เมตร ความยาวของแถวหญ้าแฝกขึ้นกับสภาพพื้นที่ และพื้นที่ว่างระหว่างแถวหญ้าแฝกจะเป็นพื้นที่ปลูกพืชหลัก
2. สระน้ำปลูก 2 แถว
- แถวที่ 1 ปลูกห่างขอบบ่อ 50 เซนติเมตร จนรอบบ่อ
- แถวที่ 2 ปลูกที่ระดับทางน้ำเข้า จนรอบบ่อ
3.อ่างเก็บน้ำปลูก 3 แถว
- แถวที่ 1 ปลูกที่ระดับทางน้ำล้นจนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
- แถวที่ 2 ปลูกที่ระดับสูงกว่า แถวที่ 1 ตามแนวดิ่ง 20 เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
- แถวที่ 3 ปลูกที่ระดับต่ำกว่า แถวที่ 1 ตามแนวดิ่ง 20 เซนติเมตร จนรอบอ่าง ยกเว้นบริเวณคันหรือสันอ่างเก็บน้ำ
4. ปลูกริมคลองส่งน้ำ 1 แถว ห่างขอบคลองส่ง 30 เซนติเมตร
5 ปลูกบนร่องสวน 1 แถว ห่างขอบแปลง 30 เซนติเมตร
6. ปลูกอยู่บนไหล่ถนน 1 แถว สำหรับถนนหรือทางลำเลียง
7. ปลูกครึ่งวงกลมล้อมต้นไม้
- ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด 1 เมตร เป็นระยะทาง 3 เมตร
- ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด 2 เมตร เป็นระยะทาง 6 เมตร
- ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด 3 เมตร เป็นระยะทาง 9 เมตร
8. ปลูกวงกลมล้อมต้นไม้
- ต้นไม้ขนาดเล็ก รัศมีขนาด 1 เมตร เป็นระยะทาง 6 เมตร
- ต้นไม้ขนาดกลาง รัศมีขนาด 2 เมตร เป็นระยะทาง 12 เมตร
- ต้นไม้ขนาดใหญ่ รัศมีขนาด 3 เมตร เป็นระยะทาง 18 เมตร
การปลูกหญ้าแฝกทุกครั้งจะต้องปลูกให้ต้นชิดติดกันเป็นแถว ไม่ว่าจะเป็นกรณีแถวตรงหรือแถวโค้งรอบต้นไม้ก็ตาม ถ้าใช้กล้าถุงมีระยะปลูกระหว่างต้น 10 เซนติเมตร และกล้ารากเปลือยระยะปลูก 5 เซนติเมตร

จักรยานไฟฟ้าสร้างพลังงานจากสองขา

ซันโยเผยโฉมรถจักรยานไฟฟ้าโลกอนาคต สร้างพลังงานจากแรงปั่น มีระบบออโต้โหมด ตรวจสอบสภาพถนน ทางลาด ช่วยผ่อนแรงได้กว่าครึ่ง

   
บริษัท ซันโย (ไทยแลนด์) จำกัด เปิดตัวนวัตกรรมใหม่ล่าสุด เป็นรถจักรยานไฟฟ้าแห่งอนาคต ชื่อเอ็น  เนลูป ไบค์              (Eneloop Bike) ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อน โดยสร้างพลังงานจากการปั่นของผู้ขับขี่เพื่อชาร์จไฟเข้าสู่แบตเตอรี่สำรองช่วยประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น อัตราการช่วยขับขี่หรือพาวเวอร์ อัพ โหมด 1:2 (Power-up Mode) มีคุณสมบัติช่วยผ่อนแรงขับขี่ลงครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับการปั่นรถจักรยานทั่วไป
     
รถจักรยานเอ็นเนลูป ไบค์ ยังมีระบบออโต้โหมด  ทำหน้าที่ตรวจจับสภาพผิวถนน ทางลาดขึ้นหรือลง เพื่อปรับสภาพการขับขี่อัตโนมัติทำให้ปั่นขึ้นเขาหรือลงเนินได้นุ่มนวล พร้อมระบบขับเคลื่อนสองล้อ โดยจะขับเคลื่อนล้อหน้าด้วยพลังงานเครื่องยนต์ และขับเคลื่อนล้อหลังด้วยแรงปั่นจากผู้ขับขี่ ทำให้สามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัย มีวางจำหน่ายแล้วในประเทศญี่ปุ่น.
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=430

แว่นตานาโนคริสตอล

ผลงานวิจัยดีเด่นในช่วงเวลานี้ ขอนำเสนอผลงานวิจัยที่คุณประโยชน์อย่างมากมายทั้งทางด้านการรักษาโรค งานอุตสาหกรรรมเชื่อมโลหะ อุตสาหกรรมแยกกุ้งกุลา และทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้จดสิทธิบัตรไปเรียบร้อยแล้ว ก็คือ  "แว่นตานาโนคริสตอล" ได้สร้างสรรค์โดย รองศาสตราจารย์ ดร.จิติ หนูแก้ว  จึงขอเชิญท่านผู้อ่านติดตามข้อมูลและเรื่องราวต่างๆได้ดังนี้
alt
แว่นตานาโนคริสตอล คือ อะไร
    แว่นตานาโนคริสตอลเป็นงานวิจัยทางด้านนาโนคริสตอลชนิดใหม่ โดยการเปลี่ยนแปลงของสาร 2 ชนิด โดยการสร้างผลึกนาโนคริสตอลอินเดียมออกซีไนไตรด์ ให้สามรถตัดกรองแสงในย่านที่เราไม่ต้องการได้ จึงนำวัสดุดังกล่าวมาเคลือบลงบนแว่นตา

แนวคิดในการสร้างแว่นตานาโนคริสตอล
    วัสดุนาโนคริสตอลอินเดียมออกซ๊ไนไตรด์ เป็นวัสดุนาโนที่สามารถครอยคุมย่านความยาวคลื่นแสงต่างๆ สามารถประดิษฐ์ด้วยกระบวนการที่ไม่ซับซ้อนยุ่งยาก ใช้ระบบปลูกฟิล์มที่ราคาไม่แพง สร้างมาจากสารตั้งต้นชนิดเดียวกัน สามรถผลิตอุปกรณืชนิดนี้ใช้ได้ในประเทศ และราคาต่ำมากเมื่อเทียบกับอุปกรณ์กรองแสง(Optical Filter)ที่นำเข้าจากต่างประเทศ จึงเป็นที่มาของการสร้างแว่นตานาโนคริสตอล

ประโยชน์ของแว่นตานาโนคริสตอล
    แว่นตานาโนคริสตอลสามารถตัดหรือกรองแสงในย่านที่เราไม่ต้องการได้ จึงนำไปใช้ในด้านตัดแสงที่เกี่ยวข้องกับแสงยูวีที่ใช้ในการรักษาโรค ใช้ในอุตสาหกรรมเชื่อมโลหะ อุตสาหกรรมคัดแยกกุ้งกุลาดำ และที่สำคัญอีกด้านหนึ่ง คือ ด้านนิติวิทยาศาสตร์ จะสามารถตัดแยกแสงบางย่านและสามารถมองเห็นสิ่งแฝงเร้น สารคัดหลั่งในร่างกาย อาทิ คราบอสุจิ คราบน้ำเหลืองต่างๆที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า

โครงการความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก    วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี สจล. ได้มีความร่วมมือกับนักวิจัยภายนอก คือ ดร.ศุภนิจ พรธีระภัทร จาก TMEC-NECTEC และ ดร.สิรพัฒน์ ประโทนเทพ จาก NANOTEC สวทช.

การพัฒนาผลงานวิจัยในอนาคต
    เนื่องจากวัสดุนาโนคริสตอลอินเดียมออกซีไนไตรด์ มีความสารถในการกรองแสงที่สามารถครอบคลุมย่านความยาวคลื่นแสงต่างๆได้ นั้นคือ ตัววัสดุสามารถดูดดลืน และเปร่งแสงในย่านความยาวคลื่นต่างๆได้ โครงการหลักคือการสร้างเป็นอุปกรณืทางออปโตอิเล็กทรอนิส์ อาทิเซลล์สุริยะคาดการว่าน่ามีประสิทธิภาพสูง ตัวตรวจวัดแสง ตัวแปล่งแสง LEDบนพลาสติก ที่เป็นเทคโนโลยีพลาสติกอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

"เซกเวย์" นวัตกรรมใหม่ล่าสุดแทนรถยนต์

         เศรษฐีนักประดิษฐ์นายดีน คาเมน นักประดิษฐ์ชาวอเมริกันสุดเจ๋ง คิดค้นนวัตกรรมใหม่ล่าสุด เป็นยานพาหนะรูปแบบใหม่ ที่เรียกขานกันว่า เซกเวย์ ฮิวแมน ทรานส์พอร์ตเตอร์ (Segway Human Tranporter) ซึ่งคาดว่าจะเข้ามาแทนที่รถยนต์ในอนาคต อันจะทำให้เกิดการปฏิวัติด้านการคมนาคมในเมืองหลวงครั้งใหญ่ และจะเป็นนวัตกรรมสำคัญยิ่งกว่าอินเตอร์เน็ต ที่เคยปฏิวัติระบบการสื่อสารของชาวโลกมาก่อนหน้านี้
      นายคาเมน ซึ่งซุ่มคิดค้นยานพาหนะในอนาคต มานานนับ 10 ปีและใช้เงินไปกว่า 4,500 ล้านบาท ได้ประดิษฐ์นวัตกรรมด้านยานยนต์ใหม่ล่าสุดนี้ โดยมีรูปทรงคล้ายคลึงกับเครื่องตัดหญ้า ที่ติดตั้งเครื่องยนต์โรตารี่ผสมผสานกับสกู๊ตเตอร์ สามารถเคลื่อนที่เดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้าย-ขวา หมุนตัวและหยุดโดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องยนต์ เกียร์ พวงมาลัย และเบรก โดยอาศัยแหล่งกำเนิดพลังงานจากกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ จึงไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเหมือนกับควันพิษจากรถยนต์
      วงการผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสหรัฐฯ ได้พากันแสดงความห่วงใย เมื่อเศรษฐีนักประดิษฐ์ชาวสหรัฐฯ ได้เปิดตัวรถแบบใหม่ อวดว่าจะกลายเป็น "เท้าวิเศษ" ของคนเราต่อไป เพราะสามารถจะขี่ซอกซอน เข้าตรอกเข้าซอยไปไหนต่อไหน ภายในเมืองถึงกันได้หมดอย่างสะดวกสบาย ด้วยเกรงว่า คนเราจะพากันเลิกเดินเสีย การเดินถือได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่มีประโยชน์ ทำได้ทุกเวลาและทุกสถานที่
     ผู้อำนวยการโครงการป้องกันโรคหัวใจของโรงพยาบาลฮาร์ดฟอร์ดในสหรัฐฯ ผู้มีความเห็นต่อต้านคนหนึ่ง กล่าวว่า "เราพยายามยุให้คนหันไปใช้บันไดแทนลิฟต์ หรือใช้เดินแทนการนั่งรถกันอยู่ เราห่วงว่าการที่คนเดินเหินกันน้อยลง จะทำให้คนพากันอ้วนกันหมด" เขาชี้ว่า "โทษอันแรกของความอ้วน ก็คือเป็นเหตุให้ข้อเข่า สะโพกและเท้าเสื่อม ซึ่งจะป้องกันได้ก็ด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ เท่านั้น"

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

"กล่องแจ๋ว" ผลิตจากข้าวโพด 100% ครั้งแรกในเมืองไทย

              รายการ "แจ๋ว" สานต่อสถานีทีวีรักษ์โลก แถลงข่าวโครงการ “ไอเดียแจ๋ว” โดยมี
นายประวิทย์ มาลีนนท์ ก.ก.ผจก.ไทยทีวีสีช่อง 3 ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. นายภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา เลขาฯมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ พร้อมผู้แทนรพ.จุฬาภรณ์ และนางลักขณา  นะวิโรจน์  รองปธ.ก.ก.บห.อาวุโสบริษัท  เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมด้วย

             ดร.วีระชัย  วีระเมธีกุล รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  กล่าวว่า โครงการนี้เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมใหม่ "ไบโอพลาสติก" ที่ประยุกต์ใช้ครั้งแรกในเมืองไทย นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นอีกก้าวในการพัฒนาอุตสาหกรรมและเพิ่มราคาผลผลิตภาคเกษตรกรรม อย่างที่เราทราบกันดีว่า พลาสติกส่วนใหญ่ทำมาจากปิโตรเคมีที่ย่อยสลายยาก และเป็นปัญหาของสังคมในการทำลาย แต่ในวันนี้การผลิตไบโอพลาสติก จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เพราะใช้เวลาในการย่อยสลายไม่ถึงปี แต่อาจยังมีราคาแพงไปสักนิด ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต 1 ในนั้นมีเรื่องพลาสติกชีวภาพ จะทำให้ลดการนำเข้าเม็ดพลาสติกจากต่างประเทศได้หลายพันล้านบาทต่อปี โครงการนี้จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความตระหนักและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และประเทศชาติ

             ทั้งนี้ โครงการ  “ไอเดียแจ๋ว”  เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการ “แจ๋วรักษ์โลก” ที่รณรงค์แยกขยะ  โดยเฉพาะกล่องเครื่องดื่มที่นำมาผ่านกระบวนการคัดแยกและรีไซเคิลใหม่เป็นโต๊ะ-เก้าอี้ มอบให้นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และในครั้งนี้เป็นการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ครั้งแรกของประเทศไทย โดยนำเสนอ “กล่องแจ๋ว” ซึ่งเป็นกล่องอาหารที่ผลิตจากข้าวโพด 100% ไม่มีส่วนผสมจากพลาสติก  แต่มีคุณสมบัติเหมือนพลาสติกทุกประการ   ใช้ใส่อาหารอุ่นร้อนได้ในอุณหภูมิไม่เกิน  80  องศาเซลเซียส โดยไม่มีพิษหรือสารปนเปื้อนที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และยังสามารถใช้ซ้ำได้ ที่สำคัญย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
             สำหรับผู้สนใจซื้อ ได้ที่ห้างเอ็มโพเรี่ยม สยามพารากอน  และเดอะมอลล์ทุกสาขา ราคากล่องละ 99 บาท เริ่มจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.53 รายได้ทั้งหมดจากการจำหน่ายโดยไม่หักค่าใช้จ่าย จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งรพ.จุฬาภรณ์

หุ่นยนต์ตรวจมะเร็ง

 นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยว่า สถาบันมะเร็งแห่งชาติได้ทดลองใช้เครื่องตรวจมะเร็งชนิดใหม่ ตินเพร็พ อิมเมเจอร์ (ThinPrep Imager System) ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองหาเซลล์ผิดปกติ และมีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ด้วยระบบอัตโนมัติ มีประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองเซลล์ผิดปกติได้พร้อมกัน 22 จุด เป็นเครื่องแรกในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่นำมาใช้งานจริงแล้วที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
 เทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจหาความผิดปกติของเซลล์ที่มีความเกิดข้องกับมะเร็งปากมดลูก โดยสามารถตรวจพร้อมกันได้ 250 ตัวอย่าง และมีความผิดพลาดน้อยมากเมื่อเทียบกับการตรวจแบบปกติ ทำให้ไม่ต้องตรวจซ้ำเพื่อยืนยันผล
                "การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเทคนิคตินเพร็บได้นำมาใช้ในประเทศไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยเทคนิคดังกล่าวมีความไวมากกว่าการตรวจด้วยเทคนิคแป็ปสเมียร์ในแบบเดิม และเป็นครั้งแรกที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติได้นำเครื่อง ตินเพร็พ อิมเมเจอร์ หรือระบบหุ่นยนต์ช่วยในการวิเคระห์ผลแทนมนุษย์เข้ามาใช้ สามารถตรวจทราบผลได้ภายใน 3-5 วัน
                "ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยเทคนิคใหม่ ไม่ต่างจากการตรวจคัดกรองมะเร็งในแบบเดิมหรือตินเพร็พ (ThinPrep) ที่ 500 บาท ต่อตัวอย่างซึ่งจำเป็นต้องใช้ชุดน้ำยาในการตรวจวิเคราะห์ผล ขณะที่ตัวเครื่องมีราคาสูงถึง 20 ล้านบาท
 อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันอัตราผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะลดลงกว่าที่ผ่านมา แต่ นพ.ธีรวุฒิ กล่าวยอมรับว่า มะเร็งปากมดลูกยังเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของผู้ป่วยใหม่ รองจากมะเร็งเต้านม และมีจำนวนผู้ป่วยใหม่ 1 หมื่นคนต่อปี
 สำหรับวิธีการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุด ณ ตอนนี้คือการตรวจคัดกรอง เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดโรค ทั้งนี้เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่ไม่แสดงอาการภายนอกให้เห็น
                "การตรวจด้วยเทคนิคเซลล์วิทยาจะช่วยให้พบความผิดปกติระยะก่อนเป็นมะเร็งได้ถึง 50% อีกทั้งการตรวจที่แม่นยำจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องมาตรวจซ้ำเป็นประจำทุกปี หรือ 5 ปี ครั้ง สำหรับสตรีที่แต่งงานแล้ว และอายุ 30 ปีขึ้นไป" นพ.ธีรวุฒิ กล่าว
 ทั้งนี้ นอกจากเทคนิคการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยเครื่องตินเพร็พ อิมเมเจอร์ แล้ว ในทางการแพทย์ยังได้พัฒนาเครื่องมือช่วยตรวจหามะเร็งปากมดลูกจากไวรัสเอสพีวี ซึ่งมีความจำเพาะต่อโรคมากกว่า โดยเทคโนโลยีใหม่สามารถตรวจหาได้ละเอียดถึงระดับเซลล์ในตำแหน่งที่ 16 และ 18 ของเชื้อไวรัสเอชพีวี ที่ก่อมะเร็งได้สูงถึง 70% แต่มีค่าใช้จ่ายในการตรวจอยู่ที่ สูงถึง 1,600 บาทต่อตัวอย่าง ซึ่งในอนาคตมีความเป็นไปได้ที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติจะนำตัวเครื่องที่พัฒนาให้ตรวจได้ในราคาถูกเข้ามาให้บริการแก่ผู้ป่วยในประเทศไทยต่อไป

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/innovation/20110208/376166/หุ่นยนต์ตรวจมะเร็งตัวแรกในไทย.html

ร่มยางพารา

กรีดยางได้แม้วันที่ฝนตก... ประพาส  น้ำจันทร์ เกษตรกรชาวสวน ยางพารา สามารถกรีดยางได้แม้วันที่ฝนตก…


   
จากเหตุการณ์สึนามิ ได้สร้างความเสียหายต่อการประกอบอาชีพการลงทุนเลี้ยงหอยแมลงภู่นับแสนบาท อาชีพของครอบครัวอยู่ในสภาพหมดเงินจากการลงทุนเลี้ยงหอย นาย ประพาส น้ำจันทร์ ในฐานะหัวหน้าครอบครัว เล่าว่า “ในตอนนั้น ตนเองได้นั่งคิดว่า จะหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวด้วยวิธีการไหนดี ที่จะสามารถมีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ จึงหันกลับไปมองสวนยางพารา บนเนื้อที่ 13 ไร่ (1,000 ต้น) อายุยาง 8 ปี ซึ่งพอจะเลี้ยงครอบครัวได้  จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้มีรายได้เพียงพอ เพราะลำพังเพียงสวนยางพารา ในปีหนึ่ง ๆ ตัดได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น เพราะพื้นที่แถบ จ.ระนอง มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี 

จากการครุ่นคิด นายประพาส บอกว่าสิ่งหนึ่งที่จุดประกายความคิดของเขา ในตอนนั้นเป็นช่วงหน้าฝนพอดี ตนเองนั่งอยู่หน้าบ้าน เห็นคนกางร่มผ่านไปมา จึงมีความคิดว่า ถ้าหากจะกางร่มให้ต้นยางพารานั้น จะทำอย่างไรดี   จากความคิดเกิดเป็นคำถาม หลังจากนั้นนายประพาส ได้เริ่มค้นหาวิธีการกางร่มให้ต้นยางพารา เพื่อใช้สวมรอบลำต้นยางพาราเหนือตำแหน่งหน้ายาง ป้องกันฝนและความชื้นไม่ให้ไหลเปียกหน้ายางซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาติดโรคของต้นยางพารา เริ่มต้นทดลองกางร่มให้ยางพารา วิธีการแรกได้ทดลองนำไม้ไผ่มาสานทำโครงลักษณะคล้ายหมวกงอบ แต่ใช้ไม่ได้ เพราะไม้ไผ่พอแห้งทำให้กรอบ พอถูกลมพัด ทำให้เสียรูปทรง วิธีการที่ 2 ได้ทดลองนำหวายมาสานทำโครง หวายมีความอ่อนตัว พอลมพัดทำให้เสียรูปทรงเช่นเดียวกับไม้ไผ่ วิธีการที่ 2 ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ นายประพาสได้ทดลองหาวิธีการกางร่มให้ต้นยางอยู่ 3 เดือน ก็เลยเกิดความคิดว่าน่าจะทดลองทำโครงกับลวด วิธีที่ 3 จึงได้ทดลองทำโครงร่มยางกับลวด และใช้ขี้ชัน (ยาเรือ) มาติดบนพลาสติกที่ประกอบกับโครงร่มยางแล้ว แต่พอขี้ชันแห้ง ทำให้แตก น้ำฝนซึมผ่านได้ จึงลองหาซื้อกาวที่มีคุณสมบัติกันซึมมาใช้ พบว่าใช้ได้ผลดี น้ำไม่ไหลซึม

   
และจากการทดลองทำร่มยางพารา ทั้ง 3 วิธี  นายประพาสสรุปว่า วิธีการที่ 3 ใช้ได้ดี   มีลมพัดก็ไม่ทำให้เสียรูปทรง กันฝนได้ 5 ปี แล้วที่นายประพาสกางร่มให้ต้นยางพาราทำให้สามารถกรีดยางในช่วงหน้าฝนได้ ผลต่อปีเพิ่มขึ้นถึง 100 เปอร์เซ็นต์ คือ สามารถกรีดยางจากเดิม ภายใน 1 ปี สามารถกรีดยางได้เพียง 3 เดือนเท่านั้น แต่หลังจากทำร่มยาง สวนยางพาราของนายประพาส ใน 1 ปี สามารถกรีดยางพาราได้เพิ่มขึ้นเป็น 8 เดือน ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม
   
ก่อนทำร่มยางพารา กรีดยางได้ประมาณ 10 วันต่อเดือน (ในฤดูฝน) รายได้ต่อวันประมาณ 1,500 บาท (คำนวณราคายางพาราแผ่นกิโล กรัมละ 50 บาท) เฉลี่ยรายได้ต่อเดือนก่อนทำร่มยางพาราประมาณ 15,000 บาท  หลังจากทำร่มยางพารา กรีดยางได้ 21 วันต่อเดือน (ในฤดูฝน) รายได้ต่อวันประมาณ 1,500 บาท (คำนวณราคายางพาราแผ่นกิโลกรัมละ 50 บาท) เฉลี่ยรายได้ต่อเดือนหลังทำร่มยางพารา ประมาณ 31,500 บาท การเปรียบเทียบจำนวนวันที่สามารถกรีดยางได้ก่อนและหลังกางร่มให้ต้นยาง ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางรายนี้มีรายได้เพิ่มขึ้น จากความเพียรพยายาม จนสามารถเลี้ยงดูครอบครัวของตนเองได้
   
นายประพาส บอกว่า “ที่ผ่านมาลองผิดมากกว่าลองถูก ได้เรียนจากประสบการณ์ของตนเอง ปัจจุบันมีชาวสวนยางที่สนใจมาเรียนรู้วิธีการทำร่มยาง บ้างก็ให้ไปช่วยกางร่มให้ต้นยางให้ดูเป็นตัวอย่างถึงในสวนยางเลยทีเดียว     มีคนเคยมาถาม ไปสอนให้เค้าทำไมไม่คิดเงิน  ผมถือว่าความรู้เป็นวิทยาทาน เมื่อมีคนนำความ รู้กลับไปทำจริง ๆ ผมรู้สึกดีใจ เพราะการทำร่มยางพารา หรือการทำงานใดนั้นต้องมีความตั้งใจ ความพยายาม และต้องมีความอดทนด้วยจึงจะประสบผลสำเร็จ”
   
จากการติดตามผล จากคนที่สนใจมาขอคำแนะนำการทำร่มยาง นายประพาส บอกว่า มี 2 รายที่นำความรู้กลับไปลงมือทำมากว่า 2 ปีแล้ว คือนายไพโรจน์ ยิ้มเยาะ เกษตรกร หมู่ที่ 1 บ้านบางมัน มีต้นยางพารา ประมาณ 500 ต้น และนายอำพร อินตัน เกษตรกรสวนยาง พาราชาวตำบลบางหิน อ.กะเปอร์ จ.ระนอง นำความรู้ไปทดลองทำกับต้นยางพารา ประมาณ 300 ต้น ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรทั้งสองรายสามารถกรีดยางแม้วันที่ฝนตกเช่นเดียวกับสวนของนายประพาส
   
ที่มา เดลินิวส์
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=19994   

http://www.radompon.com/webboard/index.php?topic=1574.0

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
ความหมายของ e-Book
        “อีบุ๊ค” (e-book, e-Book, eBook, EBook,) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์        คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้เรียนได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และสามารถสั่งพิมพ์เอกสารที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง E-Book มีอยู่หลายโปรแกรมแต่ที่นิยมใช้กันมาในปัจจุบันได้แก่
1. โปรแกรมชุด Flip Album    2. โปรแกรม DeskTop Author    3. โปรแกรม Flash Album Deluxe
         ชุดโปรแกรมทั้ง 3 จะต้องติดตั้งโปรแกรมสำหรับอ่าน
e-Book
ด้วย มิฉะนั้น แล้วจะเปิดเอกสารไม่ได้ ประกอบด้วย
1.1 โปรแกรมชุด
Flip Album ตัวอ่านคือ FlipViewer

1.2 โปรแกรมชุด
DeskTop Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
1.3 โปรแกรมชุด
Flash Album Deluxe ตัวอ่านคือ Flash Player                      

โครงสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book Construction)
   ลักษณะโครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็ คือ กระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ    

สรุปโครงสร้างทั่วไปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย
1. หน้าปก (Front Cover) 
หมายถึง ปกด้านหน้าของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนแรก เป็นตัวบ่งบอกว่าหนังสือเล่มนี้ชื่ออะไร ใครเป็นผู้แต่ง
2. คำนำ (Introduction)    หมายถึง คำบอกกล่าวของผู้เขียนเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูล และเรื่องราวต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้น 
3. สารบัญ (Contents)   หมายถึง ตัวบ่งบอกหัวเรื่องสำคัญที่อยู่ภายในเล่มว่าประกอบด้วยอะไรบ้างอยู่ที่หน้าใดของหนังสือ สามารถเชื่อมโยงไปสู่หน้าต่างๆ ภายในเล่มได้  

4. สาระของหนังสือแต่ละหน้า หมายถึง ส่วนประกอบสำคัญในแต่ละหน้า ที่ปรากฏภายในเล่มประกอบด้วย   
            • หน้าหนังสือ (Page Number)
           
ข้อความ (Texts)
           
ภาพประกอบ (Graphics) .jpg, .gif, .bmp, .png, .tiff
           
เสียง (Sounds) .mp3, .wav, .midi
           
ภาพเคลื่อนไหว (Video Clips, flash) .mpeg,   .wav,   .avi
            จุดเชื่อมโยง (Links) 
5. อ้างอิง หมายถึง แหล่งข้อมูลที่ใช้นำมาอ้างอิง อาจเป็นเอกสาร ตำรา หรือ เว็บไซต์ก็ได้
6. ดัชนี หมายถึง การระบุคำสำคัญหรือคำหลักต่างๆ ที่อยู่ภายในเล่ม โดยเรียงลำดับตัวอักษรให้สะดวกต่อการค้นหา พร้อมระบุเลขหน้าและจุดเชื่อมโยง
7. ปกหลัง หมายถึง ปกด้านหลังของหนังสือซึ่งจะอยู่ส่วนท้ายเล่ม
บทความนี้เขียนโดย ดร.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ม.เกษตรศาสตร์
อ้างอิงจากหนังสือ "กลยุทธ์การผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบมืออาชีพ"
                           คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) คืออะไร?


CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTIONคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา
คุณลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
คุณลักษณะที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4 ประการ ได้แก่
1. สารสนเทศ (Information) หมายถึง เนื้อหาสาระที่ได้รับการเรียบเรียง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หรือได้รับทักษะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ การนำเสนออาจเป็นไปในลักษณะทางตรง หรือทางอ้อมก็ได้ ทางตรงได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทติวเตอร์ เช่นการอ่าน จำ ทำความเข้าใจ ฝึกฝน ตัวอย่าง การนำเสนอในทางอ้อมได้แก่ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนประเภทเกมและการจำลอง
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individualization) การตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บุคคลแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกันทางการเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นสื่อประเภทหนึ่งจึงต้องได้รับการออกแบบให้มีลักษณะที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลให้มากที่สุด
3. การโต้ตอบ (Interaction) คือการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเรียน การสอนรูปแบบที่ดีที่สุดก็คือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้มากที่สุด
4.การให้ผลป้อนกลับโดยทันที (Immediate Feedback) ผลป้อนกลับหรือการให้คำตอบนี้ถือเป็นการ เสริมแรงอย่างหนึ่ง การให้ผลป้อนกลับแก่ผู้เรียนในทันทีหมายรวมไปถึงการที่คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สมบูรณ์จะต้องมีการ ทดสอบหรือประเมินความเข้าใจของผู้เรียนในเนื้อหาหรือทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
1. ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนอ่อน สามารถใช้เวลานอกเวลาเรียนในการฝึกฝนทักษะ และเพิ่มเติมความรู้ เพื่อปรับปรุงการเรียนของตน
2. ผู้เรียนสามารถนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการเรียนด้วยตนเองในเวลา และสถานที่ที่สะดวก
3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถที่จะจูงใจผู้เรียนให้เกิดความกระตือรือร้น สนุกสนานไปกับการเรียน
ข้อพึงระวังของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
* ผู้สอนจะต้องมีความพร้อม ความชำนาญในการสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
* ผู้สอนควรมีการวางแผน และเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้เรียนให้รอบคอบ ก่อนนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้อย่างเหมาะสม
* การผลิตคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญมาก หากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไม่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสม จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น ๆ
* ผู้ที่สนใจสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนควรที่คำนึงเวลาในการผลิตว่า คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้มาตรฐานนั้นต้องใช้เวลาเท่าไร
อ้างถึง:http://umuhanee.blogspot.com/2008/07/cai.html